ประวัติความเป็นมา

สภากาชาดไทยเป็นองค์กรสาธารณกุศลระดับชาติ ดำเนินการเพื่อมนุษยธรรมตามหลักการกาชาดสากล ได้รับการสถาปนาขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2436 (ร.ศ. 112) มีภารกิจหลัก 4 ด้าน ประกอบด้วย การบริการทางการแพทย์และสุขภาพอนามัย การบรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัยพิบัติ การบริการโลหิต และ การส่งเสริมคุณภาพชีวิต มีหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งใน ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค มีอาคารที่ทำการ และอาคารรักษาพยาบาลจำนวนมากกว่า 100 อาคาร

101

อาคาร

917,512 

ตารางเมตร

76

จังหวัด
จึงได้เสนอว่าควรมีหน่วยงานหนึ่งที่จะรองรับงานต่างๆที่คณะกรรมการบริหารระบบกายภาพภากาชาดไทยเสนอสภากาชาดไทยจึงเห็นสมควรในการจัดตั้งสำนักบริหารระบบกายภาพสภากาชาดไทยให้เป็นหน่วยงานระดับหน่วยงานพิเศษเพื่อรับผิดชอบหน้าที่ดังกล่าว
ทั้งในส่วนที่เป็นอาคารอนุรักษ์ และอาคารเก่าที่สร้างในปัจจุบัน รวมถึงโครงการที่กำลังก่อสร้างอีกหลายโครงการ ซึ่งคณะกรรมการบริหารระบบกายภาพสภากาชาดไทย ได้ทำการศึกษา และรวบรวมผลการศึกษาผังแม่บทสภากาชาดไทยเสนอต่อคณะกรรมการสภากาชาดไทย ครั้งที่ 301 เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2554 และมีข้อสังเกตเกี่ยวกับโครงการก่อสร้างและปรับปรุงอาคารต่างๆ ว่า สภากาชาดไทยยังไม่มีหน่วยงานที่ควบคุมดำเนินงานด้านกายภาพให้เป็นไปตามผังแม่บทของสภากาชาดไทย เกณฑ์การขออนุมัติผู้ออกแบบ และขออนุมัติแบบรายละเอียดไม่มีความชัดเจน มาตรฐานการเขียนแบบงานก่อสร้าง และสถานที่ระบบการจัดเก็บภายหลังการก่อสร้างไม่มีหน่วยงานรองรับ

ภารกิจหลัก

สำนักบริหารระบบกายภาพ มีภารกิจหลักในการเป็นศูนย์รวมข้อมูลเกี่ยวกับอาคาร สถานที่ และระบบสาธารณูปโภคทุกอย่างของสภากาชาดไทย
• ควบคุมและสนับสนุน
การดำเนินงานด้านบริหารจัดการอาคาร สถานที่และระบบสาธารณูปโภคให้มีประสิทธิภาพ
• พิจารณางบประมาณ
การดำเนินงานด้านบริหารจัดการอาคาร สถานที่และระบบสาธารณูปโภคให้มีประสิทธิภาพ
• พิจารณาผังทางกายภาพ
ทั้งหมดของสภากาชาดไทย รวมถึงการก่อสร้างใหม่ และการบำรุงรักษาอาคาร สถานที่ และระบบสาธารณูปโภคให้เป็นไปตามมาตรฐาน และแผนแม่บท
• ให้คำปรึกษาและดำเนินการ
เพื่อพัฒนาอาคาร สถานที่ และระบบสาธารณูปโภคของสภากาชาดไทย เพื่อประโยชน์ของกิจการสภากาชาดไทย ผู้เกี่ยวข้อง และสังคมดำเนินการอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากกรรมการบริหารอาคารสถานที่ และระบบ สาธารณูปโภคสภากาชาดไทยมอบหมาย

ระเบียบและนโยบายสำนักงาน

สภากาชาดไทย ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาระบบกายภาพ จึงได้มอบหมายให้สำนักงานบริหารระบบกายภาพ จัดทำนโยบายและแนวปฏิบัติการบริหารจัดการระบบกายภาพ สภากาชาดไทย ในที่ตั้งบริเวณถนนอังรีดูนังต์ เพื่อให้เป็นกรอบแนวทางและทิศทางการดำเนินการในขอบเขตของการจัดการระบบกายภาพ ที่จะทำให้ทุกหน่วยงานของสภากาชาดไทย มีแนวปฏิบัติร่วมกันและดำเนินการไปในทิศทางเดียวกันอย่างชัดเจน อีกทั้งยังเป็นการยกระดับความปลอดภัยและคุณภาพในส่วนของสภาพแวดล้อมทางระบบกายภาพของสภากาชาดไทย จำนวนทั้งสิ้น 13 นโยบาย
โดยได้รับอนุมัติให้ใช้เป็นเกณฑ์มาตรฐานการออกแบบ วัสดุและงานที่เกี่ยวเนื่องกับอาคารสถานที่และระบบสาธารณูปโภค จากคณะกรรมการสภากาชาดไทย ครั้งที่326 วันที่ 15 กันยายน 2560 ประกอบด้วย
ดาวน์โหลดไฟล์ > ระเบียบสภากาชาดไทย การพัฒนาระบบกายภาพ สภากาชาดไทย

นโยบายและแนวปฏิบัติการบริหารจัดการระบบกายภาพ

นโยบายที่ 1 การบริหารและจัดการระบบกายภาพโดยรวม
นโยบายที่ 3 การปรับเปลี่ยนอาคารและพื้นที่
นโยบายที่ 5 การจัดการอาคารและระบบกายภาพ
นโยบายที่ 7 การจัดการพื้นที่สำนักงาน
นโยบายที่ 9 การบำรุงรักษาและเปลี่ยนทดแทนระบบประกอบอาคาร
นโยบายที่ 11 จัดการขยะและของเสีย
นโยบายที่ 13 การจัดหาและจัดจ้างผู้ดำเนินการงานระบบกายภาพ
นโยบายที่ 2 การพัฒนาและการจัดสร้างอาคาร
นโยบายที่ 4 การดูแลรักษาอาคาร
นโยบายที่ 6 การจัดการความปลอดภัย
นโยบายที่ 8 การจัดการสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน
นโยบายที่ 10 การจัดการพลังงาน
นโยบายที่ 12 การวางแผนและจัดเตรียมงบประมาณการจัดการระบบกายภาพ

ประวัติความเป็นมา

สภากาชาดไทยเป็นองค์กรสาธารณกุศลระดับชาติ ดำเนินการเพื่อมนุษยธรรมตามหลักการกาชาดสากล ได้รับการสถาปนาขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2436 (ร.ศ. 112) มีภารกิจหลัก 4 ด้าน ประกอบด้วย การบริการทางการแพทย์และสุขภาพอนามัย การบรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัยพิบัติ การบริการโลหิต และ การส่งเสริมคุณภาพชีวิต มีหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งใน ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค มีอาคารที่ทำการ และอาคารรักษาพยาบาลจำนวนมากกว่า 100 อาคาร

100

อาคาร

3,000,000

ตารางเมตร

100

จังหวัด
จึงได้เสนอว่าควรมีหน่วยงานหนึ่งที่จะรองรับงานต่างๆที่คณะกรรมการบริหารระบบกายภาพภากาชาดไทยเสนอสภากาชาดไทยจึงเห็นสมควรในการจัดตั้งสำนักงานบริหารระบบกายภาพสภากาชาดไทยให้เป็นหน่วยงานระดับหน่วยงานพิเศษเพื่อรับผิดชอบหน้าที่ดังกล่าว
ทั้งในส่วนที่เป็นอาคารอนุรักษ์ และอาคารเก่าที่สร้างในปัจจุบัน รวมถึงโครงการที่กำลังก่อสร้างอีกหลายโครงการ ซึ่งคณะกรรมการบริหารระบบกายภาพสภากาชาดไทย ได้ทำการศึกษา และรวบรวมผลการศึกษาผังแม่บทสภากาชาดไทยเสนอต่อคณะกรรมการสภากาชาดไทย ครั้งที่ 301 เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2554 และมีข้อสังเกตเกี่ยวกับโครงการก่อสร้างและปรับปรุงอาคารต่างๆ ว่า สภากาชาดไทยยังไม่มีหน่วยงานที่ควบคุมดำเนินงานด้านกายภาพให้เป็นไปตามผังแม่บทของสภากาชาดไทย เกณฑ์การขออนุมัติผู้ออกแบบ และขออนุมัติแบบรายละเอียดไม่มีความชัดเจน มาตรฐานการเขียนแบบงานก่อสร้าง และสถานที่ระบบการจัดเก็บภายหลังการก่อสร้างไม่มีหน่วยงานรองรับ

ภารกิจหลัก

สำนักบริหารระบบกายภาพ มีภารกิจหลักในการเป็นศูนย์รวมข้อมูลเกี่ยวกับอาคาร สถานที่ และระบบสาธารณูปโภคทุกอย่างของสภากาชาดไทย
• ควบคุมและสนับสนุน
การดำเนินงานด้านบริหารจัดการอาคาร สถานที่และระบบสาธารณูปโภคให้มีประสิทธิภาพ
• พิจารณางบประมาณ
การดำเนินงานด้านบริหารจัดการอาคาร สถานที่และระบบสาธารณูปโภคให้มีประสิทธิภาพ
• พิจารณาผังทางกายภาพ
ทั้งหมดของสภากาชาดไทย รวมถึงการก่อสร้างใหม่ และการบำรุงรักษาอาคาร สถานที่ และระบบสาธารณูปโภคให้เป็นไปตามมาตรฐาน และแผนแม่บท
• ให้คำปรึกษาและดำเนินการ
เพื่อพัฒนาอาคาร สถานที่ และระบบสาธารณูปโภคของสภากาชาดไทย เพื่อประโยชน์ของกิจการสภากาชาดไทย ผู้เกี่ยวข้อง และสังคมดำเนินการอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากกรรมการบริหารอาคารสถานที่ และระบบ สาธารณูปโภคสภากาชาดไทยมอบหมาย

ระเบียบและนโยบายสำนักงาน

สภากาชาดไทย ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาระบบกายภาพ จึงได้มอบหมายให้สำนักงานบริหารระบบกายภาพ จัดทำนโยบายและแนวปฏิบัติการบริหารจัดการระบบกายภาพ สภากาชาดไทย ในที่ตั้งบริเวณถนนอังรีดูนังต์ เพื่อให้เป็นกรอบแนวทางและทิศทางการดำเนินการในขอบเขตของการจัดการระบบกายภาพ ที่จะทำให้ทุกหน่วยงานของสภากาชาดไทย มีแนวปฏิบัติร่วมกันและดำเนินการไปในทิศทางเดียวกันอย่างชัดเจน อีกทั้งยังเป็นการยกระดับความปลอดภัยและคุณภาพในส่วนของสภาพแวดล้อมทางระบบกายภาพของสภากาชาดไทย จำนวนทั้งสิ้น 13 นโยบาย
โดยได้รับอนุมัติให้ใช้เป็นเกณฑ์มาตรฐานการออกแบบ วัสดุและงานที่เกี่ยวเนื่องกับอาคารสถานที่และระบบสาธารณูปโภค จากคณะกรรมการสภากาชาดไทย ครั้งที่326 วันที่ 15 กันยายน 2560 ประกอบด้วย
ดาวน์โหลดไฟล์ > ระเบียบสภากาชาดไทย การพัฒนาระบบกายภาพ สภากาชาดไทย

นโยบายและแนวปฏิบัติการบริหารจัดการระบบกายภาพ

นโยบายที่ 1 การบริหารและจัดการระบบกายภาพโดยรวม
นโยบายที่ 2 การพัฒนาและการจัดสร้างอาคาร
นโยบายที่ 3 การปรับเปลี่ยนอาคารและพื้นที่
นโยบายที่ 4 การดูแลรักษาอาคาร
นโยบายที่ 5 การจัดการอาคารและระบบกายภาพ
นโยบายที่ 6 การจัดการความปลอดภัย
นโยบายที่ 7 การจัดการพื้นที่สำนักงาน
นโยบายที่ 8 การจัดการสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน
นโยบายที่ 9 การบำรุงรักษาและเปลี่ยนทดแทนระบบประกอบอาคาร
นโยบายที่ 10 การจัดการพลังงาน
นโยบายที่ 11 จัดการขยะและของเสีย
นโยบายที่ 12 การวางแผนและจัดเตรียมงบประมาณการจัดการระบบกายภาพ
นโยบายที่ 13 การจัดหาและจัดจ้างผู้ดำเนินการงานระบบกายภาพ